การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย ๕ สาระการเรียนรู้ ได้แก่
๑.ทักษะการเรียนรู้
๒.ความรู้พื้นฐาน
๓.การประกอบอาชีพ
๔.ทักษะการดำเนินชีวิต
๕.การพัฒนาสังคม
แต่ละสาระประกอบด้วยรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก ตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในโครงสร้างรายวิชาที่เลือกนั้นผู้เรียนสามารถเลือกได้ตามความต้องการของตนเองและในการเรียนแต่ละระดับผู้เรียนต้องทำ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.) ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ชั่วโมง
จำนวนหน่วยกิตในแต่ละระดับ มีดังนี้
ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า ๔๘ หน่วยกิต
แบ่งเป็นวิชาบังคับ ๓๖ หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต
ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคละไม่เกิน ๑๔ หน่วยกิต
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไม่น้อยกว่า ๕๖ หน่วยกิต
แบ่งเป็นวิชาบังครับ ๔๐ หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า ๑๖ หน่วยกิต
ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคละไม่เกิน ๑๖ หน่วยกิต
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่น้อยกว่า ๗๖ หน่วยกิต
แบ่งเป็นวิชาบังคับ ๔๔ หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า ๓๒ หน่วยกิต
ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน ๒๐ หน่วยกิต
วิธีการจัดการเรียนรู้
วิธีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จะมีวิธีเดียว คือ วิธีเรียน กศน. ที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบทางไกล การเรียนรู้แบบชั้นเรียน และการเรียนรู้แบบอื่นๆซึ่งในแต่ละรายวิชา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานศึกษาด้วย
เช่น
- การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
- การเรียนรู้ด้วยตนเอง
- การเรียนรู้แบบทางไกล
- การเรียนรู้แบบชั้นเรียน
- การเรียนรู้แบบอื่นๆ